วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปบทความ

 สรุปบทความเรื่อง 

           วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

สรุปบทความเรื่อง วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

        กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่จัดประสบการณ์โดยให้เด็กเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงและผู้ปกครองสามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กได้ วิทยาศาสตร์จะเน้นให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนช่างสำรวจ สืบเสาะ ค้นหา คิดวิเคราะห์ ในสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ ฝึกให้เด็กสามารถอธิบายและหาข้อสรุปในการทดลองต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเด็กเอง เพื่อสร้างความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ให้เด็กมากขึ้น


ตัวอย่างการทอลองง่ายๆวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

การทดลอง  ทดลองปฏิกิริยาเคมีด้วยน้ำส้มสายชูและเบคกิ้งโซดา

      อุปกรณ์สำหรับการทดลองปฏิกิริยาเคมี

1. สีน้ำหรือสีผสมอาหาร
2. เบคกิ้งโซดา
3. น้ำส้มสายชู
4. จานผสมสีหรือภาชนะเล็ก ๆ สำหรับผสมสีกับน้ำส้มสายชู
5. ไซริงค์ฉีดยาหรือสำหรับคุณครูอาจใช้ปิเปตต์ได้ค่ะ
6. 
ถาดหรือกล่องพลาสติกขนาดพอเหมาะ

ขั้นตอนการทดลอง

1. ก่อนเริ่มการทดลองให้ผู้ปกครองหรือคุณครู นำวัสดุ อุปกรณ์ มาให้เด็ก ๆ ดูแล้วให้เด็กบอกชื่อว่าใครรู้จักชื่ออุปกรณ์พวกนี้บ้างสิ่งไหนที่เด็กไม่รู้จักให้ผู้ปกครองและครูแนะนำ จากนั้นถามเด็กว่าหากนำสีที่ผสมน้ำส้มสายชูมาหยดใส่เบคกิ้งโซดา จะเกิดอะไรขึ้น และเกิดขึ้นเพราะอะไร เมื่อเด็กตอบผู้ปกครองหรือคุณครูอาจจดบันทึกคำตอบของเด็กไว้เพื่อบันทึกพัฒนาการของเด็ก ๆ ด้วย

        2. เมื่อสนทนากับเด็กแล้ว ให้ผู้ปกครองหรือคุณครู นำถาดหรือกล่องพลาสติก มาให้เด็ก ๆ              กล่องละ 1 คนหรือกลุ่มละ 1 ถาด ให้เด็ก ๆ เทเบคกิ้งโซดาใส่ถาดของตนเอง โดยมีผู้ปกครอง         หรือคุณครูคอยดูแลไม่ให้เด็ก ๆ เทเบคกิ้งโซดาเยอะเกินไปด้วยนะคะ เทแค่เกือบครึ่งถาดก็พอ          ค่ะ และให้เด็กลองสัมผัสกับเบคกิ้งโซดาด้วยก็ได้ค่ะ

        3. ผสมสีและน้ำส้มสายชูในจานผสมสีหรือภาชนะที่เตรียมไว้   ใช้ไซริงค์ฉีดยาหรือปิเปตต์ ดูด             สีมาหยดลงในถาดที่ใส่เบคกิ้งโซดาไว้ แล้วให้เด็ก ๆ สังเกต          ดูสิ่งที่เกิดขึ้น

หยดสีลงในกล่องที่ใส่เบคกิ้งโซดาไว้

     5. ให้เวลาเด็ก ๆ ได้ลงมือทำกิจกรรมนี้อย่างเต็มที่ ให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น                และถ้าเป็นเด็กโตหน่อยก็จะเริ่มตั้งสมมุติฐานสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาเพิ่มสีสันที่แตกต่าง              กันลงไป เมื่อเด็ก ๆ ทำกิจกรรมจนพอใจแล้ว ผู้ปกครองหรือคุณครูอาจให้เด็ก ๆ ลองสัมผัส             เบคกิ้งโซดาที่เราได้หยดสีลงไปว่ามีสัมผัสเป็นอย่างไง แตกต่างจากครั้งแรกหรือไม่ และให้ผู้          ปกครองหรือคุณครูพูดคุยกับเด็ก ๆ ถึงการทดลองที่ผ่านมาว่า เกิดอะไรขึ้นบาง และเกิดจาก             อะไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

  บันทึกการเรียนครั้งที่ 11                                           บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 13  พฤศจิกายน 2563 เนื้อ หาที่เร...