วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 


                                          บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563

เนื้อหาที่เรียน

   เทคนิคการนั้งให้เสริมสร้างการเรียนรู้ นั้งให้เป็นรูปพัดครูตั้งตรงกลางนั่งสูงกว่าเด็ก

เด็กจะได้ประสบการณ์ผ่านการทดลอง การสังเกตทำให้เด็กได้ประสบการณ์ไปเรื่อยๆ

กระบวนการทดลอง

1. ตั้งสมมุติฐาน   เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ  **เพื่อกระตุ้นความคิดให้เด็กเกิดการเรียนรู้**

2. ดำเนินการ       เด็กๆลองสังเกตดูสิว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นมันจะมีการเปลี่ยนเเปลงอะไร ลองสังเกตดูนะคะ นับให้สัญญาณ   ขอตัวเเทนอาสาสมัครออกมาเพื่อมาทดลอง 1-2 คน

3. ทดลอง           เด็กได้เก็บข้อมูลเเละอธิบายเด็กๆเห็นอะไรบ้างค่ะ มีน้ำไหลออกมามั้ย

4. สรุป                 เด็กๆคิดว่าเป็นเพราะอะไรค่ะ  


                                         

การทดลอง เเรงตึกผิวกับดินสอ

อุปกรณ์ :    ถุงพลาสติก ดินสอไม้เเหลมๆ น้ำ 

การทดลอง  : พลาสติกที่เตรียมไว้ใส่น้ำเปล่าเเละมัดปากถุงใช้ถุงใช้ดินสอไม้เเทงทะลุถุงผ่านไปอีกด้าน  จะสังเกตได้ว่าน้ำไม่รั่วเเม้เเต่หยดเดียว

คำอธิบาย :  เป็นผลของเเรงตึกผิว ที่ช่วยประสานรอยรั่วหรือกระชับรอยดินสอไว้ไม่ให้น้ำไหลออกมาได้


                                             

ข้อเเก้ไข :  ต้องมีภาพประกอบเพื่อความชัดเจนมากขึ้น

 คำศัพท์

1. Conjecture  การคาดคะเน

2. Assume     สมมติฐาน

3. Event         เหตุการณ์

4. Proceed    ดำเนินการ

5. Observe    สังเกต

ประเมิน

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ทำเป็นตัวอย่างพูดได้อย่างชัดเจน

ประเมินเพื่อน    ออกไปทดลองได้สนุกมีส่วนรวมทุกคน

ประเมินตนเอง ตั้งใจเเละเรียนรู้ข้อเเก้ไขมาปรับปรุงในครั้งต่อไป









สรุปตัวอย่างการสอน

 สรุปตัวอย่างการสอน

ตัวอย่างการสอน เรื่องเเสง(Light)


ผู้ดำเนินการสอน  เฮเลน  แอกเคอร์เเมน 

องค์กรที่รองรับ  โทรทันศ์ครู

การจัดการเรียนการสอน

1. เฮเลนนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้นิทานเกี่ยวกับลูกหมีตัวหนึ่งซึ่งกลัวความมืด เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา

2. ตั้งคำถามกระตุ้นความคิดเด็ก รู้อะไรเกี่ยวกับเเสงบ้าง 

3. ชวนให้เด็กนึกถึงความมืดที่เคยไปให้เด็กๆได้จินตนาการ

4. สอนคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ เช่นการตั้งสมมุติฐาน คาดการณ์ 

5. จัดกิจกรรมการสืบค้น โดยที่เชื่อมโยงกับเเสงกับแหล่งกำเนิดเเสงเเละเรื่องราวในิทาน


 จากการทดลอง จะทำให้เด็กๆได้ทราบว่าเราต้องการเเสงเพื่อมองเห็นในที่มืด       ครูใช้สื่อเป็นถ่ำจำลองเพื่อให้เด็กๆได้ค้นพบเรื่องเเสงและเเหล่งกำเนิดของเเสง

อ้างอิง      https://www.youtube.com/watch?v=9CvJpzCJxnk&feature=share&fbclid=IwAR2_beB-bTitSRSGVL_eOp3iT5BpYwB2WPRCyrserOLbVzh8baPE2_I-iPI























สรุปวิจัย

 สรุปวิจัย  

สรุปวิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมการทำเครื่องดื่ม   สมุนไพร



สรุปวิจัยเรื่อง 
    การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมการทำเครื่องดื่ม   สมุนไพร
(THE  DEVEIOPMENT OF BASIC SCIENCE SKILLS FOR YOUNG CHILBREN USING HERBAI BRINK AIVITIES)

ปริญญานิพนธ์ของ  :วณิชชา สิทธิพล 

จุดมุ่งหมาย  : การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับเเละเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร 

กลุ่มตัวอย่างใช้ในงานวิจัย     : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง4-5ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการสึกษา2556 ชองโรงเรียนวัดชำป่างาม สานรัฐประชาสรรค์
สมมติฐานการวิจัย 

ตัวแปรที่ศึกษา
    ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
   ตัวแปรตาม ได้แก่   1 . การสังเกต
                                2 . การจำเเนก
                                3 .  การวัด
                                4 .  การสื่อสารข้อมูล


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : เเผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรเเละบททดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สมมติฐานการวิจัย   เด็กมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

แผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ 
          การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ล่ะ 3 วันวันล่ะประมาณ 50 นาที รวม 24 ครั้งในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 

   หน่วย   การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร


   กิจกรรม 

   อุปกรณ์ 
1. ผลไม้ต่างๆ
2. ผัก 
3. น้ำตาลทราย
4. เครื่องปั้นเเละกรอง
5. เเก้ว ถ้วย เเละ หม้อ ช้อน


 จุดประสงค์การเรียน
     การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาทักษะพื้นฐานทางวืทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ได้เเก่ การวัด การสังเกต การจำเเนก การสื่อความหมายข้อมูลเเละเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

   ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
             ขั้นนำ  เป็นการเข้าสู่กิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร โดยการร้องเพลง คำคล้องจ้อง หรือปริศนาคำทายเเละสื่อเพื่อกระตุ่นเด็กให้เกิดควาสนใจ
            ขั้นดำเนินการ เเนะนำอุปกรณ์ ขั้นตอนในการทำเเละสร้างข้อตกลงเบื่องต้นในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร จากนั้นให้เด็กเข้ากลุ่มละ 5 คนเเล้วเเบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่มเรียบร้อยเเล้วก่อนจะเริ่มทำเครื่องดื่มสมุนไพร ในขั้นตอนนี้เด็กลงมือทำด้วยตนเองโดยมีครูเเนะนำเเละกระตุ้นให้เด็กใช้ทักษะในการสังเกต การจำเเนกเเลการวัด ในกระบวนการต่างๆของการทำเครื่องดื่มสมุนไพรเเละช่วยกันเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด
           ขั้นสรุป เด็กสารมารถสื่อความหมายข้อมูลเเละร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร


     จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
       เด็กมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นทั้งดดยรวมเเละรายด้านหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร เป็นไปตามที่ตั้งสมมุตฐานไว้



วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปบทความ

 สรุปบทความเรื่อง 

           วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

สรุปบทความเรื่อง วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

        กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่จัดประสบการณ์โดยให้เด็กเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงและผู้ปกครองสามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กได้ วิทยาศาสตร์จะเน้นให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนช่างสำรวจ สืบเสาะ ค้นหา คิดวิเคราะห์ ในสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ ฝึกให้เด็กสามารถอธิบายและหาข้อสรุปในการทดลองต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเด็กเอง เพื่อสร้างความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ให้เด็กมากขึ้น


ตัวอย่างการทอลองง่ายๆวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

การทดลอง  ทดลองปฏิกิริยาเคมีด้วยน้ำส้มสายชูและเบคกิ้งโซดา

      อุปกรณ์สำหรับการทดลองปฏิกิริยาเคมี

1. สีน้ำหรือสีผสมอาหาร
2. เบคกิ้งโซดา
3. น้ำส้มสายชู
4. จานผสมสีหรือภาชนะเล็ก ๆ สำหรับผสมสีกับน้ำส้มสายชู
5. ไซริงค์ฉีดยาหรือสำหรับคุณครูอาจใช้ปิเปตต์ได้ค่ะ
6. 
ถาดหรือกล่องพลาสติกขนาดพอเหมาะ

ขั้นตอนการทดลอง

1. ก่อนเริ่มการทดลองให้ผู้ปกครองหรือคุณครู นำวัสดุ อุปกรณ์ มาให้เด็ก ๆ ดูแล้วให้เด็กบอกชื่อว่าใครรู้จักชื่ออุปกรณ์พวกนี้บ้างสิ่งไหนที่เด็กไม่รู้จักให้ผู้ปกครองและครูแนะนำ จากนั้นถามเด็กว่าหากนำสีที่ผสมน้ำส้มสายชูมาหยดใส่เบคกิ้งโซดา จะเกิดอะไรขึ้น และเกิดขึ้นเพราะอะไร เมื่อเด็กตอบผู้ปกครองหรือคุณครูอาจจดบันทึกคำตอบของเด็กไว้เพื่อบันทึกพัฒนาการของเด็ก ๆ ด้วย

        2. เมื่อสนทนากับเด็กแล้ว ให้ผู้ปกครองหรือคุณครู นำถาดหรือกล่องพลาสติก มาให้เด็ก ๆ              กล่องละ 1 คนหรือกลุ่มละ 1 ถาด ให้เด็ก ๆ เทเบคกิ้งโซดาใส่ถาดของตนเอง โดยมีผู้ปกครอง         หรือคุณครูคอยดูแลไม่ให้เด็ก ๆ เทเบคกิ้งโซดาเยอะเกินไปด้วยนะคะ เทแค่เกือบครึ่งถาดก็พอ          ค่ะ และให้เด็กลองสัมผัสกับเบคกิ้งโซดาด้วยก็ได้ค่ะ

        3. ผสมสีและน้ำส้มสายชูในจานผสมสีหรือภาชนะที่เตรียมไว้   ใช้ไซริงค์ฉีดยาหรือปิเปตต์ ดูด             สีมาหยดลงในถาดที่ใส่เบคกิ้งโซดาไว้ แล้วให้เด็ก ๆ สังเกต          ดูสิ่งที่เกิดขึ้น

หยดสีลงในกล่องที่ใส่เบคกิ้งโซดาไว้

     5. ให้เวลาเด็ก ๆ ได้ลงมือทำกิจกรรมนี้อย่างเต็มที่ ให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น                และถ้าเป็นเด็กโตหน่อยก็จะเริ่มตั้งสมมุติฐานสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาเพิ่มสีสันที่แตกต่าง              กันลงไป เมื่อเด็ก ๆ ทำกิจกรรมจนพอใจแล้ว ผู้ปกครองหรือคุณครูอาจให้เด็ก ๆ ลองสัมผัส             เบคกิ้งโซดาที่เราได้หยดสีลงไปว่ามีสัมผัสเป็นอย่างไง แตกต่างจากครั้งแรกหรือไม่ และให้ผู้          ปกครองหรือคุณครูพูดคุยกับเด็ก ๆ ถึงการทดลองที่ผ่านมาว่า เกิดอะไรขึ้นบาง และเกิดจาก             อะไร

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 3

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม 2563 


เนื้อหาที่เรียน

การเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)

4-7 ปี เริ่มเรียนรู้คำพูด ภาษา มีเหตุเเละผลมากขึ้นกลายเป็นขั้นอนุรักษ์ เราจะรู้ได้ต่อเมื่อ เด็กใช้เหตุผลในการตอบ
       ขั้น 1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) อายุ 2 ปีหลังเเรกเกิด

        ขั้น 2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)   ขั้นนี้จะอยู่ในช่วง 2-7 ปี ในระยะ 2-4 ปี เด็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง มีขีดจำกัดในการรับรู้ สามารถเข้าใจได้เพียงมิติเดียว ในระยะ 5-6 ปี เด็กจะย่างเข้าสู่ขั้น Intuitive Thought ระยะนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการคิด ที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้กับการคิดอย่างมีเหตุผลตามความจริง

     ขั้น 3 ปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรม (Concrete Operational Stage) ขั้นนี้ เริ่มจากอายุ 7-11 ปี เด็กจะมีความสามารถคิดเหตุผลและผลที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ยึดอยู่เฉพาะการรับรู้เหมือนขั้นก่อน ๆ ในขั้นนี้เด็กจะสามารถคิดย้อนกลับ (Reversibility) สามารถเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ (Conservation) สามารถจัดกลุ่มหรือประเภทของสิ่งของ (Classification) และสามารถจัดเรียงลำดับของสิ่งต่าง ๆ (Seriation) ได้ 

    ขั้น 4 ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ตั้งแต่อายุ 11 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่เป็นช่วงที่เด็กจะสามารถคิดไม่เพียงแต่ในสิ่งที่เห็นหรือได้ยินโดยตรงเหมือนระยะก่อน ๆ อีกต่อไป แต่จะสามารถจินตนาการเงื่อนไขของปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยพัฒนาสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็หมายถึงว่า ในระยะนี้เด็กจะมีความสามารถคิดหาเหตุผลเหมือนผู้ใหญ่นั่นเอง 
    
                                                           นิยามของการเล่น
      เล่นคือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำผ่านวัตถุเพื่อลงเลือกเเละตัดสิ้นใจอย่างมีความสุข
การเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้
เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ 

การสังเกต/การชักถาม/เป็นวิธีการ

ครูจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยต้องคำนึงถึงหลักการ 
  • เรื่องที่เด็กสนใจ
  • เรื่องที่เป็นสิ่งใกล้ตัวเด็ก
  • สถานการณ์ที่มีผลกระทบกับเด็ก 
  • พัฒนาการของเด็ก
การจัดการสอนให้กับเด็กมี 4 สาระสำคัญ
  •  เกี่ยวกับตัวเด็ก
  •  บุคคลและสถานที่
  •  ธรรมชาติรอบนตัว
  •  สิ่งแวดล้อม

คำศัพท์
1. Concrete รูปธรรม
2. Dharma  นามธรรม
3. Method   วิธีการ
4. Principle  หลักการ
5. Environment สิ่งเเวดล้อม

ประเมิน
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด
ประเมินเพื่อน  -  เพื่อนๆตั้งใจอย่างดี
ประเมินตนเอง - ตั้งใจเรียนเเละมีส่วนรวมกับอาจารย์อย่างดี

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 2

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


 บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 14 สิงหาคม 2563 


เนื้อหาที่เรียน
      อาจารย์ให้ทำงานกลุ่ม จับกลุ่ม 5 คน ทำงานในหัวข้อเรื่อง การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ให้นักศึกษาอะธิบายพร้อมเหตุผลเมื่อ  นึกถึงเด็กปฐมวัย นึกถึงการจัดประสบการณ์ นึกถึงวิทยาศาสตร์  นึกถึงอะไรใน 3 หัวข้อนี้  




1. นึกถึงเด็กปฐมวัย 
1.1 นึกถึง การอบรบเลี้ยงดู เพราะว่าสิ่งเเวดล้อมรอบตัวเด็กเเต่ละคนมีความเเตกต่างกัน
1.2 นึกถึง พัฒนาการ  เพราะเด็กมีการเปลี่ยนเเปลงพัฒนาการทั้ง 4 อย่างเป็นลำดับขั้น  
1.3 นึกถึงการเล่น เพราะ เด็กเล่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

2. นึกถึงการจัดประสบการณ์
2.1  นึกถึง การจัดกิจกรรม เพราะเด้กได้ลงมือปฏิบัติเเละลงมือด้วยตนเอง
2.2 นึกถึง  สื่อ เนื่องจากสื่อเป็นตัวกลางในการให้เกิดการเรียนรู้กับเด็ก 
2.3 นึกถึง ทักษะทั้ง 4 ด้านของเด็ก เพราะป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาบุคคลทุกช่วงวัย

3. นึกถึงวิทยาศาสตร์
3.1 นึกถึง การทดลอง จะทำให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้เกิดการอยากทำอยากทดลอง
3.2 นึกถึง การสังเกต เด็กจะได้ใช้การสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการสังเกต ตาดู มองเห็น ปากชิมรส จมูกดมกลิ่น หูได้ฟังเเละได้สัมผัส   


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

        กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่จัดประสบการณ์โดยให้เด็กเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงและผู้ปกครองสามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กได้ วิทยาศาสตร์จะเน้นให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนช่างสำรวจ สืบเสาะ ค้นหา คิดวิเคราะห์ ในสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ ฝึกให้เด็กสามารถอธิบายและหาข้อสรุปในการทดลองต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเด็กเอง เพื่อสร้างความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ให้เด็กมากขึ้น


คำศัพท์
1. Change   การเปลี่ยนเเปลง
2. Practice  ปฏิบัติ
3. Observe  สังเกต
4. Study      เรียนรู้
5. Learning process กระบวนการเรียนรู้

ประเมิน
ประเมินอาจารย์ -  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียดทำให้นักศึกษาสามารถคิดตามได้อย่างเห็นภาพเเละให้นักศึกษาทำงานกลุ่มเพื่อให้นักศึกษารู้จักการว่างเเผน
ประเมินเพื่อน  - เพื่อนตั้งใจทำงานกลุ่มช่วยเหลือกัน 
ประเมินตนเอง - ตั้งใจทำงานอย่างดี




วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 

                                          บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 วันศุกร์ ที่ 7 สิงหาคม 2563 

เนื้อหาที่เรียน     

                           เป็นสัปดาหห์เเรกในการเปิดการเรียนการสอนในรายวิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์ได้อธิบาย ในรายวิชานี้ว่าจะต้องมีเเนวทางในการเรียนเป็นอย่างไร  เเละชี้เเจงเรื่องเเฟ้มสะสมผลงานให้ทำเป็นในรูปแบบเดิมคือ Blogger พร้อมชีเเจงเนื้อหาที่จะต้องมีใน Bloggr 

          1 .  วิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

          2 .  ตัวอย่างการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 

          3 .  บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

เเละอาจรย์ได้ให้นักศึกษามีส่วนรวมในห้องเรียนโดย ตั้งคำถาม ถ้านึกถึงสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กนึกถึงสื่ออะไร ตอบ 1 คำตอบต่อ 1 คน ซึ่งดิฉันเเละเพื่อนๆนึกถึงสื่อมากมายทั้งเเตกต่างเเละเหมือนกัน เช่น เกมการศึกษาตัวต่อ  สื่อเกี่ยวกับโลก การเจริญเติบโตของพื้น เเละอีกมากมายหลังจากที่ได้ตอบเสร็จอาจารย์ให้เเจกกระดาษ เเละให้หัวข้อรายวิชานี้ ถ้านึกถึงวิทยาศาสตร์จะนึกถึงการเรียนในเรื่องใด ทำเป็นรูปแบบ ผังความคิด 

กิจกรรม


คำศัพท์ 
1  Science      วิทยาศาสตร์
2  Cycle         วัฏจักร
3 Nature         ธรรมชาติ
4 Teaching materials สื่อการสอน
5 The experiment      การทดลอง


การประเมิน
ประเมินอาจารย์  -  อาจารย์อธิบายรายวิชาอย่างละเอียดเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจอย่างตรงกัน
ประเมินเพื่อน  -   ตั้งใจฟังเเละทำกิจกรรมตอบคำถามเป็นอย่างดี
ประเมินตนเอง -  ตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดีตามได้รับมอบหมาย




บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

  บันทึกการเรียนครั้งที่ 11                                           บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 13  พฤศจิกายน 2563 เนื้อ หาที่เร...