วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

  บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


                                          บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 13  พฤศจิกายน 2563

เนื้อหาที่เรียน

              เป็นการทดลองระดับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐวัย
           

                       วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้   การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อพัฒนาการของใยสมองในช่วงปฐมวัย  

ประเมิน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ค่อยเเนะนำเรื่องการทดลองมีสื่อให้ดูเทคนิคต่างๆ
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจจดในสิ่งที่ได้
ประเมินตนเอง จดบางครั้งบางครั้งก็นั่งฟังอย่างตั้งใจ

คำศัพท์
1   The experiment  การทดลอง
2   EDit ไข่
 Mixed colors ah สีผสมอาการ
4   Color   สี
 Observing สังเกต





บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

 บันทึกครั้งที่ 10



 บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันพุธที่  4  พฤศจิกายน  2563

 เนื้อหาที่เรียน

สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก 

        เอกสารส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง

               สวัสดีค่ะท่านผู้ปกครอง  พวกเรามีเทคนิคการพัฒนาทักษะทาง สติปัญญาด้านคณิตเเละวิทยาศาสตร์ มาฝากน้องๆโดยผ่านกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ในนิทานเรื่อง เมฆฝน

     กิจกรรมการทดลอง เรื่อง เมฆฝน




เจ้าเมฆฝนก้อนหนึ่งกำลังล่องลอยอยู่บนฟ้า มันมองมาเห็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่แห้งแล้ง ต้นไม้เริ่มเหี่ยวเฉาใกล้ตาย แต่เจ้าก้อนเมฆที่ลอยผ่านไปโดยไม่ปล่อยฝนลงมาสักหยดเดียว                                     

                                                                                                    

เจ้าเมฆฝนลอยตามสายลมไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็โดนลมพัดผ่านมาจนถึงมหาสมุทร แล้วมันก็ปล่อยฝนให้ตกลงมาอย่างหนักกลายเป็นพายุฝนขนาดย่อมไปทั่วบริเวณ ขณะนั้นเองเจ้าเมฆฝนบังเอิญเหลือบไปเห็นภูเขาลูกหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กัน มันจึงพูดว่า เห็นไหมล่ะเจ้าภูเขา เมฆฝนอย่างข้ามีภาระหน้าที่ที่สำคัญมาก ด้วยการเติมน้ำให้กับมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไกลโพ้นเชียวนะ



ภูเขาจึงตอบไปว่า สิ่งที่เจ้าทำชั่งไร้ค่านักและเจ้ายังทำให้ชาวประมงเดือดร้อน.เพราะพายุฝนของเจ้า มหาสมุทรไม่ได้ต้องการน้ำฝน สายฝนน่าจะทำประโยชน์ในพื้นที่แห้งแล้งมากกว่า

เจ้าเมฆฝนได้คิดดั่งเจ้าภูเขาว่า จึงรีบมุ่งหน้าไปปล่อยน้ำฝนยังหมู่บ้านแห้งหนึ่ง เมื่อชาวบ้านเห็นฝนตกต่างโห่ร้องดีใจ พร้อมกล่าวขอบคุณเจ้าเมฆฝนสำหรับสายฝนที่มีค่านั้น

คุยกับลูก

“ ถ้าหนูเป็นเจ้าก้อนเมฆหนูจะไปช่วยปล่อยน้ำฝนให้ชาวบ้านที่กำลังแห้งแล้ง หรือไม่ เพราะอะไร

 

บทสรุป

            เห็นไหมจ๊ะ  การที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดจะไม่เกิดประโยชน์ ”

เล่นกับลูก

ชวนลูกทำการทดลองเกี่ยวกับการเกิดฝน

อุปกรณ์ 

- เเก้วน้ำ 1 ใบ      - จาน / ขนาดที่สามารถปิดปากเเก้วได้

- น้ำเเข็ง               - น้ำร้อน

เด็กๆรู้ไหมค่ะว่าฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร เด็กตอบ

ถ้าเราวางน้ำเเข็งบนจานที่ปิดอยู่บนเเก้ว เเก้วที่มีน้ำร้อน เด็กๆรู้ไหมว่าจะเกิดอะไรขึ้น เด็กตอบ

เดี๋ยวเรามาทดลองพร้อมกันเลยนะคะ

วิธีการทดลอง

1 เทน้ำร้อนลงในเเก้วพอประมาณ

2 นำจานที่ใหญ่กว่าวางไว้บนเเก้ว เเล้วนำน้ำเเข็งวางไว้บนจาน


                   สรุป    เด็กๆเห็นไหมค่ะเมื่อน้ำได้รับความร้อน จะกลายเป็นไอน้ำ ซึ่งเมื่อกระทบกับความเย็นจะควบเเน่นเป็นละอองน้ำไหลรวมกันเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ที่ก้นจาน หยดน้ำนั้นคือ "ฝน"

การประเมิน

ประเมินอาจารย์    อาจารย์ให้รายละเอียดเล็กเป็ฯอย่างดีเเต่งบางทีอาจรย์พูดเร็วไปหน่อย

ประเมินตนเอง    จดเเละฟังอาจารย์อย่างตั้งใจมีบางครั้งที่อาจจะฟังไม่รู้เรื่อง

ประเมินเพื่อน  ฟังเเละคิดการทดลองของตนเองอย่างดี

 คำศัพท์

1     Rain     ฝน

2     Help     ช่วยเหลือ

3     Dust     ละออง

4     Heat     ความร้อน

5     Impact  กระทบ 






บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกครั้งที่ 9



 บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563

 เนื้อหาที่เรียน

                     วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ของเล่นเกี่ยวกับอากาศ โดยอาจารย์ให้กระดาษเเข็งมาดิฉันทำคล้ายๆกังหันลม ที่ใช้มือหมุนเเล้วค่อยๆดิ่งลงช้าๆ



       อาจารย์ได้เเจกดินน้ำมันให้ปั้นที่สามารถลอยบนน้ำได้ดิฉันเลยปั่นเป็นรูปทรงคล้ายๆถ้วยเเละจานเพื่อให้อากาศเข้าไปจึงทำให้ดินน้ำมันลอยได้ วิธีนี้จะคล้ายๆการต้มบัวลอย

                                      
                   
      
            คำศัพท์ 
             1. wind turbines  กังหันลม
             2. Plasticine  ดินน้ำมัน
             3 . Paper   กระดาษ
             4 . Do it  ลงมือทำ
              5 .float     ลอย

            ประมิน 
                     
           ประเมินอาจารย์  มีกิจกรรมที่น่าเรียนรู้อยู่ตลอด
           ประเมินเพื่อน     กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
           ประเมินตนเอง    มีความสุขที่ได้เล่นเเละลงมือทำ



วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

  บันทึกครั้งที่ 8



                                             บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2563

เนื้อหาที่เรียน

     อาจารย์ให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับ เรื่องน้ำ มีทั้งการทดลองเกี่ยวกับน้ำมากมายไม่ว่า จะเป็นของเล่นจากน้ำ การเกิดฝน การทำน้ำพุ น้ำเปลี่ยนสี ของเเข็งของเหลวสถาณะของน้ำเป็นต้น 



เมื่อดูเสร็จให้จับกลุ่มเพื่อน 5 คนสรุปกับเรื่องที่ดูว่าได้ความรู้อะไรบ้าง

เรื่อง น้ำน่ารู้

สิ่งต่างๆทั้งมีชีวิตเเละไม่มีชีวิตล้วนมีน้ำเป็นส่วนประกอบ
         - ผักผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90%
         - มนุษย์เเละสัตว์มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70%
คุณสมบัติของน้ำ  
         - ของเเข็ง  คือ น้ำเเข็ง
         - ของเหลว คือ น้ำ
         - เเก๊ส   คือ ไอน้ำ 
การระเหย 
        -  น้ำจะระเหยเมื่อโดนความร้อน จากผิวน้ำผิวหน้ากว้างจะระเหยได้ดีกว่าหน้าเเคบ
ความหนาเเน่น 
        - น้ำเปล่ามีความหนาเเน่นน้อยกว่าน้ำเกลือ 
   การทดลองเเครอทลอย  เราเทเกลือลงในเเก้วน้ำเปล่า น้ำเกลือจะอยู่นด้านล่างของน้ำเปล่า นำเเครอทที่หั่นลงไปในเเก้วที่มีน้ำเปล่าที่มีเกลือทำให้เกลือในน้ำเปล่าดันเเครทขึ้นมา ทำให้เเครทลอยได้นั้นเอง
    


น้ำขยายตัวได้  น้ำปกติจะมีความหนาเเน่นของโลเลกุลเมื่อนำน้ำไปเเช่เเข็ง น้ำจะเกิดการขยายตัวหลวมขึ้น จึงทำให้น้ำนูนขยายใหญ่ขึ้นมา

การเกิดฝน

เเหล่งน้ำ >> โดนความร้อน >> กลายเป็นไอน้ำลอยตัวขึ้นบนฟ้า >> ไอน้ำจับตัวกันเป็นก้อนเมฆ >>ลอยไปกระทบความเย็นเกิดความหนาเเน่น >> กลายเป็นฝนตกลงสู่พื้น


การทดลองเเรงกดดันของน้ำ
       1  ขวดนำมาเจารรู 3 รู
       2  ปิดรูที่เจาะเเล้วเติมน้ำจนเต็ม
       3  ค่อยๆเปิดรูทีละรูจนครบ 
ผล น้ำเเต่ละรูจะพุงออกมาไม่เท่ากันเพราะเเรงกดดันไม่เท่ากันน้ำที่มีความลึกเท่ากันจะมีเเรงกดดันน้ำเท่ากันนั้นเองค่ะ  เเรงกดดันน้ำไม่ขึ้นอยู่กับขนาดเเต่จะขึ้นอยู่กับความลึก ยิ่งลึกมากเเรงกดดันน้ำก็จะมาก

เเรงตึงผิว  เมื่อผิวหน้าของน้ำสัมผัสอากาสโมเลกุลจะรวบตัวทำให้เกิดความยืดหยุน

                     หลังจากได้สรุปความรู้จากการดูวีดีโอเเล้วอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คนออกแบบเเละเขียนเเบบสร้างของเล่นเกี่ยวกับน้ำ กลุ่มดิฉันเขียนแบบจะสร้างของเล่นที่มีชื่อว่า    รถพลังน้ำ  จะใช้นำเป็นการขับเคลื่อนรถเเละดึงน้ำจากรางขึ้นมาใช้หมุนเวียนเป็นพลังงาน


                คำศัพย์ 

                    1. Gas        เเก๊ส     

                    2. Design        ออกแบบ

                    3. Phenomenon ปรากฏการณ์

                    4. Commuting   การทดลอง

                    5. Pressure เเรงกดดัน


                ประเมิน

                    ประเมินอาจารย์  หาสิ่งเรียนรู้มาให้คิดให้ทำเป็นอย่างดีฝึกทักษะการคิดให้นักศึกษาอย่างดี

                    ประเมินเพื่อน      เพื่อนๆตั้งใจฟังวีดีโอ

                    ประเมินตนเอง   ช่วยคิดเเละลงมือทำในกิจกรรมต่างๆตั้งใจฟังเเละจดสรุป






บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

 บันทึกครั้งที่ 7

                              บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันพุธที่ 7 ตุลาคม 2563 (เรียนชดเชยภาคบ่าย)

                เนื้อหา 

วันนี้ได้ทำ 3กิจกรรม กิจกรรมที่1 ทายชื่อเเหล่งน้ำ กิจกรรมที่2 ให้สร้างสวนสนุก กิจกรรมที่3 ดอกไม้บาน ซึ่ง กิจกรรมที่1 ให้ทายชื่อเเหล่งน้ำ จับกลุ่ม 5 คน  เเล้ววาดเเหล่งน้ำโดยไม่ได้บอกชื่อของเเหล่งน้ำนั้นๆ เเต่ให้วาดจุดเด่นของเเหล่งน้ำนั้นๆ เพื่อให้เพื่อนได้ทายชื่อของเเหล่งน้ำ

กิจกรรมที่ 1
          -  กลุ่มดิฉันได้วาด    สะพานพุทธ 
          -  ลักษณะเด่น  คือ   ตัวสะพานมีสีเขียวตรงโครงเหล็ก
   

กิจกรรมที่ 2 
         อาจารย์ให้ออกแบบและสร้างสวนสนุกข้างๆกับเเหล่งน้ำของกลุ่มตนเอง ซึ่งใช้หลอดเป็นอุปกรณ์หลักในสร้าง  สร้างเป็นสไลเดอร์ โดยสร้างในรูปแบบที่ห้ดินน้ำมันไหลลงมาสู่พื้นช้าที่สุด  เมื่อทำเสร็จแต่ละกลุ่มก็นำมาแข่งขันกันว่ากลุ่มไหนไหลดินน้ำมันไหลลงพื้นได้ช้าที่สุด 
      กลุ่มดิฉันออกแบบสวนสนุกที่มี  ชื่อว่า ไหลลื่น  
      อุปกรณ์มีดังนี้  หลอด   เทปใส  กรรไกร 

             
                                  รูปภาพตอนทำ                                              ภาพตอนเเข่งขัน      
        
กลุ่มดิฉันได้ทำเวลาไป 1.32 วินาที ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 3                    
 
กิจกรรมที่ 3
           ให้สมาชิกในกลุ่มพับกระดาษเเล้วตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้   พร้อมระบายสีเกสรของดอกไม้  เมื่อทำเสร็จให้พับดอกไม้เข้าหากันให้คล้ายๆดอกไม้หุบอยู่  หลังจากนั้นตัวเเทนเเต่ล่ะกลุ่มนำดอกไม้ไปว่างในถาดใส่น้ำที่เตรียมไว้ เมื่อวางดอกไม้ลงในถาดเสร็จ กลุ่มไหนดอกไม้บานครบทุกดอกถือว่าประสบผลสำเร็จ
***ทำไมดอกไม้ถึงบาน  เพราะกระดาษมีรูพรุนน้ำจึงไหลเข้าไปแทนที่ทำให้ดอกไม้ที่ทำจากกระดาษนั้นหนักขึ้น  จึงค่อยๆคล้ายออกหรือบานออกนั้นเอง

          


  ความรู้ที่ได้รับ 
         *** เเหล่งน้ำมีลักษณะที่เเตกต่างกันโดยมีองค์ประกอบที่เเตกต่างกัน มีความหลากหลายของ
ธรรมชาติเเหล่งน้ำยังมีประโยชน์สำหรับมนุษย์ สามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ใกล้ๆกับแหล่งน้ำด้วย 
แหล่งน้ำมี 2 ประเภท
 1  แหล่งน้ำตามธรรมชาติ คือ เเหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
 2  แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ  มนุษย์เป็นเเหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
  เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เเละธรรมชาติรอบตัวเด็ก

ทักษะที่ได้รับ 

    - ทักษะการคิดวางแผน  วางเเผนการสร้างสวนสนุกที่จะทำให้ดินน้ำมันไหลลงพื้นช้าที่สุด

    - ทักษะการสังเกต  สักเกตจุดเด่นของเเหล่งน้ำต่างๆ สภาพเเวดล้อม

     

วิทยาศาสตร์

     พื้นที่พื้นผิวของหลอด / เวลาของดินน้ำมันที่ไหลลงพื้น ระดับความราดเอียงของเครื่องเล่นสไลเดอร์ และการเสียดทานหลอดกับดินน้ำมัน 

       

คณิตศาสตร์

     - จำนวนหลอดในการสร้างเครื่องเล่น เทปใสใช้ความยาว  

     - การวัดความยาวของสไลเดอร์ 

     - เวลาในการใช้จับเวลาของดินน้ำมันไหลลงมา

เทคโนโลยี

      การออกแบบ

วิศวกรรม

      การเขียนแบบร่างเเบบก่อนลงมือสร้าง

     
                คำศัพย์ 

                    1. Lmportant      สำคัญ

                    2. Design           ออกแบบ

                    3. Sketch           ร่างเเบบ

                    4. Water resources    เเหล่งน้ำ

                    5. Engineering   วิศวกรรม


                ประเมิน

                    ประเมินอาจารย์  หากิจกรรมชวนคิดเรียนรู้เเบบ Active Learning

                    ประเมินเพื่อน  ให้ความรวมมือทุกกิจกรรม เเละสร้าเสียงหัวเราะเฮฮาในกิจกรรม

                    ประเมินตนเอง   ช่วยคิดเเละลงมือทำ




วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6


 บันทึกครั้งที่ 6

                                          บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2563

เนื้อหาที่เรียน

ของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ จับคู่ 2 คน ให้หาเศษวัสดุเหลือใช้ภายในห้องมาประดิษฐ์ของเล่นสำหรับวิทยาศาสตร์ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่เลือกทำคือ        ลูปโป่งเป่าลม




อุปกรณ์
1.  ขวดนมพลาสติก
2.  ลูปโป่ง
3.  หลอด
4.  กระดาษสี
5.  กรรไกร

วิธีการทำ 
1. เจาะรูบริเวณด้านข้างของขวด
2. ตัดปากลูกโป่งขยายออกเพื่อคลอบปากขวด
3. ตัดหลอดให้พอดีกับรูด้านข้าง
4. ตกเเต่งให้สวยงาม



วิธีการเล่น
     เป่าลมที่หลอดจนลูกโป่งพอง


ลูกโป่งพองได้อย่างไร ???

ลูกโป่งพองได้เพราะอากาศหรือ  เเรงดันอากาศ  อากาศที่เข้าไปด้านในจะดันลูกโป่งให้พองออกและมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกัน อากาศที่อยู่ภายนอกก็ออกแรงดันลูกโป่งทุกทิศทางด้วย

************แรงดันอากาศ เป็นแรงที่อากาศกดลงบนผิวของวัตถุในทุกทิศทาง***************

ทำให้เราได้รู้ว่าอากาศเป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน อนุภาคของอากาศ เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ

คำศัพท์
1. Invent  ประดิษฐ์
2. Test tube  หลอดทดลอง
3. Air pressure ความดันอากาศ
4. Object    วัตถุ
5. Manner   ลักษณะ

ประเมิน 
ประเมินอาจารย์  อาจารย์ปล่อยให้ได้คิดอย่างอิสระในการทำงาน
ประเมินเพื่อน     ช่วยกันทำงานอย่างดี
ประเมินตนเอง    ช่วยคิดเเละลงมือทำในผลงานของตนเอง




วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 5

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 


                                          บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2563

เนื้อหาที่เรียน

       ทบทวนเนื้อหา  เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่อยากรู้อยากเห็น พัฒนาการทำให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเป็นช่วงวัยที่สมองเบงบานถึง 90%  วิธีการสอนเด็กปฐวัยจะต้องสอนไปทีละขั้นตอนเเล้วค่อยๆนำมารวมกัน

ทำไมถึงต้องสอนวิทยาศาสตร์ > > > การศึกษามาตรฐาน ความจำเป็นในชีวิตประจำวัน เเละ หลักสูตรประฐมวัย 60

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การหาเหตุผล แก้ไขปัญหา

สมองกับวิทยาศาสตร์  1 ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ

                                    2 หาสาเหตุเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง

                                    3 ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ

                                    4 จำเเนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น

องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์ 

        1 สิ่งที่กำหนด

        2 หลักหรือกฎเกรณฑ์  > > เป็นข้อกำหนดสำหรับใช้เเยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้

        3 การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ   > > เป็นการพิจารณาส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้

              อาจารย์ให้จำกลุ่มทำงานให้ตั้งหัวข้อทำผังความคิด กลุ่มล่ะ 5 คนหัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


เรื่องที่เลือกคือ การเจริญเติบโตของต้นถั่วงอก




คำศัพท์
1. Link    เชื่อมโยง  
2. Process   กระบวนการ    
3. Brain สมอง     
4. SKills  ทักษะการคิด
5. Understanding  ความเข้าใจ



ประเมิน 
ประเมินอาจารย์ พูดชัดเจนให้นักศึกษามีส่วนร่วม
ประเมินเพื่อน    ตั้งใจฟังเเละช่วยเพื่อนทำงานได้อย่างดี
ประเมินตนเอง  ตั้งใจช่วยเพื่อนทำงานอย่างดี





บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

  บันทึกการเรียนครั้งที่ 11                                           บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 13  พฤศจิกายน 2563 เนื้อ หาที่เร...