วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6


 บันทึกครั้งที่ 6

                                          บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2563

เนื้อหาที่เรียน

ของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ จับคู่ 2 คน ให้หาเศษวัสดุเหลือใช้ภายในห้องมาประดิษฐ์ของเล่นสำหรับวิทยาศาสตร์ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่เลือกทำคือ        ลูปโป่งเป่าลม




อุปกรณ์
1.  ขวดนมพลาสติก
2.  ลูปโป่ง
3.  หลอด
4.  กระดาษสี
5.  กรรไกร

วิธีการทำ 
1. เจาะรูบริเวณด้านข้างของขวด
2. ตัดปากลูกโป่งขยายออกเพื่อคลอบปากขวด
3. ตัดหลอดให้พอดีกับรูด้านข้าง
4. ตกเเต่งให้สวยงาม



วิธีการเล่น
     เป่าลมที่หลอดจนลูกโป่งพอง


ลูกโป่งพองได้อย่างไร ???

ลูกโป่งพองได้เพราะอากาศหรือ  เเรงดันอากาศ  อากาศที่เข้าไปด้านในจะดันลูกโป่งให้พองออกและมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกัน อากาศที่อยู่ภายนอกก็ออกแรงดันลูกโป่งทุกทิศทางด้วย

************แรงดันอากาศ เป็นแรงที่อากาศกดลงบนผิวของวัตถุในทุกทิศทาง***************

ทำให้เราได้รู้ว่าอากาศเป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน อนุภาคของอากาศ เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ

คำศัพท์
1. Invent  ประดิษฐ์
2. Test tube  หลอดทดลอง
3. Air pressure ความดันอากาศ
4. Object    วัตถุ
5. Manner   ลักษณะ

ประเมิน 
ประเมินอาจารย์  อาจารย์ปล่อยให้ได้คิดอย่างอิสระในการทำงาน
ประเมินเพื่อน     ช่วยกันทำงานอย่างดี
ประเมินตนเอง    ช่วยคิดเเละลงมือทำในผลงานของตนเอง




วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 5

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 


                                          บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2563

เนื้อหาที่เรียน

       ทบทวนเนื้อหา  เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่อยากรู้อยากเห็น พัฒนาการทำให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเป็นช่วงวัยที่สมองเบงบานถึง 90%  วิธีการสอนเด็กปฐวัยจะต้องสอนไปทีละขั้นตอนเเล้วค่อยๆนำมารวมกัน

ทำไมถึงต้องสอนวิทยาศาสตร์ > > > การศึกษามาตรฐาน ความจำเป็นในชีวิตประจำวัน เเละ หลักสูตรประฐมวัย 60

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การหาเหตุผล แก้ไขปัญหา

สมองกับวิทยาศาสตร์  1 ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ

                                    2 หาสาเหตุเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง

                                    3 ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ

                                    4 จำเเนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น

องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์ 

        1 สิ่งที่กำหนด

        2 หลักหรือกฎเกรณฑ์  > > เป็นข้อกำหนดสำหรับใช้เเยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้

        3 การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ   > > เป็นการพิจารณาส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้

              อาจารย์ให้จำกลุ่มทำงานให้ตั้งหัวข้อทำผังความคิด กลุ่มล่ะ 5 คนหัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


เรื่องที่เลือกคือ การเจริญเติบโตของต้นถั่วงอก




คำศัพท์
1. Link    เชื่อมโยง  
2. Process   กระบวนการ    
3. Brain สมอง     
4. SKills  ทักษะการคิด
5. Understanding  ความเข้าใจ



ประเมิน 
ประเมินอาจารย์ พูดชัดเจนให้นักศึกษามีส่วนร่วม
ประเมินเพื่อน    ตั้งใจฟังเเละช่วยเพื่อนทำงานได้อย่างดี
ประเมินตนเอง  ตั้งใจช่วยเพื่อนทำงานอย่างดี